อยากรู้ประวัติ “เปรมชัย กรรณสูต”

ประวัติของ เปรมชัย กรรณสูต

เปรมชัย กรรณสูต เกิดเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2497 เป็นบุตรชาย นพ.ชัยยุทธ กรรณสูต และ ม.ร.ว.พรรณจิต (สกุลเดิม วรวรรณ) มีพี่น้องด้วยกัน 5 คน โดยนายเปรมชัยเป็นลูกชายคนสุดท้อง เขาจบการศึกษาจากโรงเรียนจิตรลดา จากนั้นเรียนต่อด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ จากรัฐโคโรลาโด สหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาปริญญาโทด้านเอ็มบีเอ จากมหาวิทยาลัยเซาท์เธิร์นแคลิฟอร์เนียน.พ.ชัยยุทธ กรรณสูต พ่อของ เปรมชัย เป็นผู้ก่อตั้งอิตาเลียนไทยร่วมกับ จิออร์จิโอ แบร์ลิงเจียรี หุ้นส่วนคนสำคัญในยุคจอมพลสฤษดิ์เมื่อปี 2501 เดิมตั้งใจทายาทคนโตคือ นายเอกชัย สืบทอดตำแหน่งต่อ แต่กลับเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุในวัย 32 ปี หลังจากนั้นในปี 2522 เปรมชัย ด้วยวัยที่ยังไม่ถึง 30 ปีจึงเข้าบริหารธุรกิจต่อจากพ่อ พร้อมกับพาพาอิตาเลียนไทย (ITD) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2537 จนถึงปัจจุที่เขาดำรงตำแหน่งประธานบริหารของอิตาเลียนไทย ถือหุ้นในสัดส่วนสูงสุดที่ 14.88%

จากกรณีเจ้าหน้าที่ป่าไม้เข้าจับกุมนายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารและ กรรมการ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด มหาชน และคณะ ลักลอบตั้งแคมป์พักแรมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทั้งยังพบซากสัตว์ป่าคุ้มครองถูกชำแหละถลกหนัง อาวุธปืนพร้อมเครื่องกระสุนจำนวนมาก ทำให้ชื่อของ เปรมชัย กรรณสูตกลายเป็นชื่อที่ไดรับความสนใจว่า เขาคือใคร?

ปัจจุบัน อิตาเลียนไทย เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของวงการก่อสร้าง มีโปรเจกต์ขนาดมหึมาทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก มีทรัพย์สินมากกว่า 8 หมื่นล้านบาท มีรายได้ 4-5 หมื่นล้านบาทต่อปี โดยรายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2560 ที่ผ่านมามีกำไรประมาณ 246 ล้านบาท ซึ่งถือว่าดีกว่าปีก่อนที่ขาดทุนนับร้อยล้านบาท โดยในปี2560ที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นปีที่ดีของอิตาเลียนไทย ซึ่งมีโครงการขนาดใหญ่มูลค่ารวม 1.3 แสนล้านบาท รวมไปถึงโรงไฟฟ้าแม่เมาะมูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะรับรู้รายได้ปีที่ผ่านมาได้ถึง 6 หมื่นล้านบาท และจะแตะ 1 แสนล้านบาทในปี 2561 นี้

ตำนานธุรกิจของอิตาเลียนไทยนั้นโด่งดังในฐานะเจ้าของสัมปทานโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการในประเทศไทย โดยตัวอย่างโครงการของ อิตาเลียนไทย อาทิรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 (มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ และ หัวหิน-ประจวบฯ) ,รถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ,รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์) ,รถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ,รถไฟไทย-จีน ,รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ,ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และโครงการบริหารจัดการน้ำ

นอกจากนี้ ในงานต่างประเทศ ยังมี อีก 2 โครงการคือ ทางด่วนยกระดับและรถไฟฟ้า ที่เมืองดักการ์ ประเทศบังกลาเทศ รวมไปถึงสนามบิน รถไฟใต้ดิน โรงบำบัดน้ำเสีย และจะร่วมประมูลสนามบินที่มีขนาดใหญ่พอๆ กับสนามบินสุวรรณภูมิ ในไตรมาสแรกปี 2561

ใส่ความเห็น