อึ่งอ่าง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่ชาวไทยอีสานนำมาเป็นอาหาร

แหล่งอาศัย  อึ่งในฤดูจำศีลจะขุดฝังตัวเองลึกลงไปในดิน ด้วยการหันหลัง และใช้ขาหลังขุดดิน และดันตัวเองลงด้านล่าง ซึ่งจะไม่ขุดดินออกให้เป็นรูกวาง แต่ดินจะถูกดันออกด้านข้างเพื่อให้ลำตัวแทรกดันลงได้ ทำให้ดินที่ขุดเลื่อนออกมาปิดรูไปเรื่อย ทำให้ดินบริเวณรูมีสีที่แตกต่างจากดินรอบข้างอย่างชัดเจน แต่สีดินจะเริ่มเหมือนกัน หากขุดลึกมาก นอกจากนั้น ดินบริเวณรูที่ขุดจะมีความหนาแน่นต่างจากดินรอบข้างอย่างชัดเจน ทั้งนี้ ความลึกของรูในช่วงฤดูจำศีล ต้นเดือนพฤศจิกายน-เมษายน จะมีความลึกมาก อาจมีความลึกได้ถึง 1 เมตร ขึ้นอยู่กับความชื้นของดินที่เหมาะสำหรับการพักตัว%e0%b8%ad%e0%b8%b6%e0%b9%88%e0%b8%87

สำหรับฤดูวางไข่ และออกหาอาหาร ซึ่งอยู่ในช่วงต้นฤดูฝนจนถึงปลายฤดูฝน ปลายเดือนเมษายน-ปลายเดือนตุลาคม ความลึกของรูในช่วงนี้จะลึกน้อยมากถึงปานกลาง แต่ส่วนใหญ่จะขุดดินไม่ลึก เพียงแค่ฝังตัวเองหลบในช่วงกลางวันเท่านั้น หรือ อาจหลบตามโพรงไม้ โพรงปลวก กองใบไม้ที่ค่อนข้างชื้นเท่านั้น และจะออกมาหาอาหารในเวลากลางคืน%e0%b8%ad%e0%b8%b6%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%8b%e0%b8%9a

อาหาร และการหาอาหารอาหารสำคัญของอึ่งอ่าง ได้แก่ ปลวก มด และแมลงชนิดต่างๆ ส่วนมากจะกินจำพวกปลวก แมงเม่า และมด เป็นหลักการสืบพันธุ์ และวางไข่การผสมพันธุ์ และการวางไข่จะอยู่ในช่วงต้นฤดูฝน และสามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้งตลอดช่วงฤดูฝน แต่ส่วนมากจะผสมพันธุ์ประมาณ 1-2 ครั้ง เท่านั้น โดยจะมีการผสมพันธุ์มากในช่วงต้นฤดูฝนหากฝนตกมาครั้งแรกในปริมาณไม่มาก อึ่งจะดันตัวเองขึ้นมาใกล้ผิวดินขึ้นมาเรื่อยๆ หรืออาจออกมาอาศัยตามโพรงหรือกองใบไม้เพื่อรอฝนชุดหลัง แต่หากฝนครั้งแรก หรือฝนตกอีกที่ทำให้มีน้ำนองหรือมีน้ำขังตามแอ่งต่างๆ อึ่งจะดันตัวเองออกจากรู และเดินเข้าหาแหล่งน้ำทันที เพื่อผสมพันธุ์ และวางไข่

การผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นมากช่วงเวลากลางคืน แต่อาจผสมพันธุ์ในเวลากลางวันหากฝนตกกลางวันจนมีน้ำขังมาก และจะเกิดขึ้นได้เฉพาะในแหล่งน้ำขังใหม่เท่านั้น ซึ่งอึ่งจะไม่เลือกแหล่งน้ำเดิมที่มีน้ำขังจากปีที่แล้ว หรืออาจเลือกหากแหล่งน้ำเดิมมีน้อย และมีการเติมจากฝนของปีนี้มากกว่า โดยก่อนผสมพันธุ์ อึ่งเพศผู้จะพองตัว และลอยน้ำ แล้วส่งเสียงร้องเรียกอึ่งเพศเมีย เมื่อผสมพันธุ์แล้ว อึ่งเพศเมียจะวางไข่ในแหล่งน้ำ และเมื่อก่อนถึงตะวันขึ้น หรือหากผสมพันธุ์ และวางไข่เสร็จ อึ่งก็จะแยกย้ายหาแหล่งขุดรูหรือโพรงหลบซ่อนต่อไป

สำหรับไข่อึ่งอ่าง ในช่วงแรกไข่จะติดกันเป็นแผ่นใหญ่ลอยเหนือผิวน้ำ ซึ่งแตกต่างจากไข่คางคกที่มีลักษณะเป็นเส้นสีดำยาว หลังจากนั้น ไข่จะค่อยแยกตัวกัน และจมลงใต้ผิวน้ำจนฟักออกมาเป็นลูกอ๊อด และเจริญมีขา แล้วอพยพขึ้นบนบกอีกครั้งการป้องกันตัวเองของอึ่งอึ่งเมื่อมีภัยหรือถูกคุกคามจากสัตว์อื่น เช่น งู ตะขาบ ก็จะใช้วิธีการพองตัวด้วยการสูบลมเข้าท้อง พร้อมขับเมือกเป็นยางเหนียวออกมา ทำให้การจับหรือคาบของสัตว์อื่นมีการลื่นไหล อึ่งจึงสามารถสลัดตัวออกได้ง่าย

สำหรับการจับอึ่ง หากไม่ใส่ถุงมือก็จะทำให้ยางอึ่งเกาะติดเต็มฝ่ามือได้ง่ายการจับอึ่งอ่างการจับอึ่งจะใช้เพียง 3 วิธี เท่านั้น คือ การจับขณะฝนตกกลางวัน การส่องอึ่งกลางคืน และการขุดอึ่ง1. การจับอึ่งกลางวัน จะจับได้ก็ต่อเมื่อมีฝนตกหนักจนเกิดแหล่งน้ำขัง ซึ่งอึ่งจะออกจากหลบอาศัยแล้วจะคลานหรือกระโดดเข้าหาแหล่งน้ำ ซึ่งคนจับจะคอยดักจับตามแหล่งน้ำนั้นๆ แต่บางพื้นที่ เมื่อฝนตกหนักก็มักจะออกเดินจับตามถนนหรือพื้นที่โล่งที่สามารถมองเห็นตัวอึ่งได้