“เมี่ยงคำ” ช่วยสุขภาพแข็งแรง ธาตุสมดุล

นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้สัมภาษณ์ว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตอนหนึ่งว่า ปัญหาโลกร้อน และความไม่แน่นอนของอากาศที่เปลี่ยนแปลงและแปรปรวนมากขึ้น ร้อนขึ้น หนาวขึ้น ที่เราเห็นเกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมานี้ จะส่งผลกระทบที่หลากหลาย อาทิ น้ำท่วม ฝนแล้ง ที่สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สิน การเกษตรกรรม ซึ่งเป็นภาคการผลิตหลักของประเทศ รวมทั้งระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง ทำให้เราอาจจะต้องประสบกับโรคระบาดใหม่ หรือโรคอุบัติใหม่ ที่รัฐต้องดูแล ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขที่สูงขึ้น หมายถึงภาระของรัฐที่ต้องสูงขึ้นตามไปด้วย

จากความห่วงใยสุขภาพประชาชนในช่วงที่อากาศแปรปรวนของท่านนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จึงอยากแนะนำประชาชนใช้อาหารที่รับประทานทุกวัน ช่วยปรับสมดุลธาตุให้ตัวเอง ซึ่งฤดูกาลและอุณหภูมิของอากาศมีอิทธิพลต่อความเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว และช่วงรอยต่อระหว่างฤดูกาลที่มีผลทำให้สมดุลของธาตุสี่ของร่างกายเราแปรปรวน หากปรับตัวไม่ได้เกิดเสียสมดุลจะทำให้เจ็บป่วย ทั้งความร้อนและความเย็นที่สัมผัสกายเรา ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คนเราจึงต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับฤดูกาลต่าง ๆ เฉกเช่นคนสมัยโบราณใช้วิธีการรักษาสมดุลธาตุในร่างกายด้วยการกินผักพื้นบ้านอาหารเป็นยา เช่น ฤดูร้อน อาหารที่กินเพื่อปรับการทำงานของร่างกายเข้าสู่สมดุลได้ดี คือ อาหารรสจืด รสขม รสเย็น เช่น ต้มจืดตำลึง ต้มจืดมะระ ผัดบวบ แตงโม ใช้กลุ่มผักหรือผลไม้รสขม จืด เย็น เป็นเมนูตามชอบ

หากอากาศร้อนจัดระวังอาจเกิดลมแดด “ฮีทสโตรค” (Heat Stroke) ได้ง่ายจึงควรดื่มน้ำให้มาก ๆ หากต้องการเครื่องดื่มสมุนไพรรสเย็นชื่นใจ ได้แก่ น้ำย่านาง น้ำบัวบก น้ำมะตูม น้ำใบเตย หรือน้ำตรีผลาซึ่งเป็นตำรับยาสมุนไพรปรับธาตุในฤดูร้อน เป็นต้น สรรพคุณช่วยรักษาอาการร้อนใน ช่วยลดอาการกระหายน้ำ ทำให้สดชื่น หากเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ควรรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน จะช่วยบำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ขับปัสสาวะ ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียน ได้แก่ อาหารประเภทยำต่างๆ ต้มยำ ต้มโคล้ง น้ำพริก และเครื่องดื่มสมุนไพร ได้แก่ น้ำขิง น้ำตะไคร้ เป็นต้น เมื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ควรรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว ช่วยแก้ไอขับเสมหะ รสขมแก้ไข้ รสเผ็ดร้อน กระตุ้นระบบไหลเวียนและช่วยขับเหงื่อได้ดี เช่น แกงส้มดอกแค ต้มยำต่าง ๆ ยำมะม่วงเปรี้ยว เป็นต้น เครื่องดื่มสมุนไพร เช่น น้ำขิง น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง น้ำกระเจี๊ยบ

นอกจากนี้ อีกหนึ่งเมนูเพื่อสุขภาพ ที่ไม่ควรมองข้ามในช่วงอากาศแปรปรวนคือ เมี่ยงคำ เนื่องจากส่วนประกอบของเมี่ยงคำมีสรรพคุณครบถ้วนในการปรับสมดุลธาตุทั้งสี่ในร่างกาย เช่น มะพร้าวคั่ว ถั่วลิสงคั่ว ซึ่งมีรสมัน น้ำจิ้มมีรสหวาน รสเค็ม ช่วยเสริมธาตุดิน พริก ขิง หัวหอม รสเผ็ดร้อน เสริมธาตุลม รสเปรี้ยวและขมจากมะนาวทั้งเปลือก เสริมธาตุน้ำและธาตุไฟ ดังนั้น เมี่ยงคำจึงเป็นเมนูเด็ด ที่ได้รับการกล่าวขานว่าปรับสมดุลธาตุทั้งสี่ได้อย่างดีเยี่ยม กรมการแพทย์แผนไทยฯ จึงขอเชิญชวนประชาชนกินผักพื้นบ้านอาหารเป็นยา สร้างเกราะป้องกันโรคกันเถอะ และถ้าเป็นหวัดอย่าลืมกินฟ้าทะลายโจรทันทีเมื่อมีอาการ

รู้แล้วรอไร!!! กินอาหารช่วยต้านแดด

มะเขือเทศมีสรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นสดใส ไม่แห้งกร้าน มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วรัยแห่งวัย

แสงแดดและอากาศที่ร้อนขึ้นทุกวัน มีผลกระทบโดยตรงต่อผิวหนังของเรา ทั้งปัญหาผิวแห้งกร้าน ผิวแดง ผิวไหม้ ไปจนถึงปัญหาใหญ่อย่างมะเร็งผิวหนัง การหลีกเลี่ยงและป้องกันแสงแดดและแสงยูวีจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

ในปัจจุบัน นอกจากการมีผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและป้องกันแดดต่างๆ มาให้เลือกใช้กันแล้ว ยังมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถยืนยันได้ว่า การรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายต่อต้านกับแสงแดดได้ดียิ่งขึ้น และช่วยป้องกันผิวไหม้จากแสงแดดได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูง

อาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูง พบในผักใบเขียว แครอท พริก หรือพริกหยวกสีแดง ผลไม้สีเหลืองอย่างมะม่วง แตงโม โดยจะให้ประสิทธิภาพดีหากมีการรับประทานอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูงเหล่านี้ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 สัปดาห์ขึ้นไป

ส่วนสาร ไลโคปีน (lycopene) ก็เป็นสารอีกตัวหนึ่งในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ซึ่งนอกจากจะเป็นสารต้านมะเร็งแล้ว หากรับประทานต่อเนื่อง 3 เดือนขึ้นไป ก็จะเห็นผลดีในการช่วยป้องกันผิวไหม้จากแสงแดด ซึ่งสารไลโคปีนนี้พบมากในมะเขือเทศ และฟักข้าว

มะเขือเทศ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามิเอ วิตามินเค วิตามินพี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และมีสารจำพวก ไลโคปีน (lycopene) แคโรทีนอยด์ (carotenoid) เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) และกรดอะมิโน เป็นต้น

มะเขือเทศมีสรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นสดใส ไม่แห้งกร้าน มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วรัยแห่งวัย มีการศึกษาพบว่าการรับประทานซอสมะเขือเทศวันละ 48 – 55 กรัม หรือประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ หรือรับประทานน้ำมะเขือเทศวันละ 250 ซีซี ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 สัปดาห์ขึ้นไป จะช่วยเพิ่มปริมาณสารแคโรทีนอยด์ในผิวหนัง และอาการแดงของผิวหนังหลังจากโดนแสงแดดจะน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่รับประทานซอสมะเขือเทศถึง 33% นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มที่รับประทานมะเขือเทศ แสงแดดจะทำลายโมเลกุลของ DNA ในผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน และมีการสร้าง procollagen มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน

ส่วนฟักข้าวนั้น เป็นผลไม้ที่อุดมด้วยไลโคปีน ซึ่งมีปริมาณสูงกว่ามะเขือเทศถึง 12 เท่า และมีสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ เช่น เบต้า-แคโรทีน มากกว่าแครอท 10 เท่า มีวิตามินซี มากกว่าส้ม 40 เท่า มีซีแซนทีน มากกว่าข้าวโพด 40 เท่า อุดมด้วยวิตามินอี วิตามินเอ กรดไขมันโอเมก้า-3, โอเมก้า-6 และโอเมก้า-9 มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ป้องกันปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด

นอกจากนี้ ในฟักข้าว ยังมีไลโคปีนชนิดพิเศษ ที่เรียกว่า ไลโปแคโรทีน (Lipocarotene) ซึ่งเป็นกรดไขมันสายยาวที่ช่วยดักจับและดูดซึมแคโรทีน ฟักข้าวจึงจัดเป็นแหล่งของไลโคปีนที่ดีที่สุด

สำหรับการรับประทานมะเขือเทศหรือฟักข้าวนั้น แนะนำให้รับประทานมะเขือเทศหรือฟักข้าวที่ผ่านความร้อน ซึ่งจะมีปริมาณไลโคปีนสูงกว่าในผลสด เนื่องจากความร้อนจะทำให้เซลล์มะเขือเทศหรือฟักข้าวแตก ส่วนการบดก็จะยิ่งทำให้ไลโคปีนออกมานอกเซลล์ได้มากขึ้น และสารไลโคปีนในธรรมชาติเมื่อถูกความร้อนร่างกายจะสามารถดูดซึมได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ความร้อนที่ใช้ปรุงจะต้องไม่สูงมาก และไม่ให้ความร้อนเป็นเวลานานเกินไป เพราะจะทำให้ไลโคปีนสลายไปนั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีผักผลไม้อื่นๆ ที่อุดมไปด้วยไลโคปีน เช่น แตงโม 1 ชิ้น (286 กรัม) มีไลโคปีน 12,962 ไมโครกรัม, มะละกอ 1 ผล (304 กรัม) มีไลโคปีน 5,557 ไมโครกรัม, มะม่วง 1 ผล (207 กรัม) มีไลโคปีน 6 ไมโครกรัม และในแครอท 1 ผล (72 กรัม) มีปริมาณไลโคปีน 1 ไมโครกรัม

ส่วนใน ชาเขียว ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระชื่อ โพลีฟีนอล (Pholyphenols) ก็สามารถช่วยปกป้องผิวหนังไม่ให้ถูกทำลายจากรังสียูวีได้ โดยร่างกายสามารถรับได้ทั้งจากการดื่ม และการทาครีมที่มีส่วนผสมของชาเขียว และยังมีงานวิจัยพบว่าสามารถป้องกันมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารเป็นเพียงวิธีการหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงของการที่ผิวหนังถูกทำลายจากความร้อนของแสงแดด การทาครีมกันแดดยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดให้ดีที่สุดควบคู่ไปกับการปฏิบัติตัว คือ หลีกเลี่ยงแสงแดด โดยเฉพาะช่วง 10.00 – 16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่แดดแรง หรือสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันแสงแดด หากมีความจำเป็นต้องออกแดด

: ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โทร 037-211-289

มะกอกสรรพคุณมีดีหลายอย่างช่วยบอกต่อ คุณชายแดน สมุนไพรไทยโบราณ

ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร ลำต้นกลม ตั้งตรง เปลือกสีเทา หนา เรียบ เปลือก ใบ และผล มีกลิ่นหอม มีรูอากาศตามลำต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่ง กิ่งอ่อนมีรอยแผลจากการหลุดร่วงของใบ ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ชั้นเดียว เรียงแบบสลับ ใบย่อย 4-6 คู่ ออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน หรือเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปขอบขนาน กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 7-12 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเป็นติ่งแหลม ฐานใบมนเบี้ยว ขอบใบเรียบ ใบค่อนข้างนุ่ม ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง เนื้อใบหนาเป็นมัน หลังใบเรียบเกลี้ยง ท้องใบเรียบ ก้านใบร่วมยาว 12-16 เซนติเมตร ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมากขนาดเล็ก สีขาวครีม

%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%81

กลีบดอกรูปรี ปลายกลีบดอกแหลม ขนาดประมาณ 4 มิลลิเมตร ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้มี 10 อัน กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผลสด มีเนื้อ ฉ่ำน้ำ รูปไข่ กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ผลแก่สีเหลืองอมเขียว ถึงสีเหลืองอ่อน ประด้วยจุดสีเหลือง และดำ รสเปรี้ยวจัด เมล็ดเดียว ใหญ่และแข็งมาก ผิวเป็นเสี้ยนขรุขระ พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ออกดอกราวเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ยอดอ่อนรับประทานเป็นผัก ผลรับประทานได้ ผลสุกนำมาใส่ส้มตำ น้ำพริก ยำ มีรสเปรี้ยว ฝาดเล็กน้อย

สรรพคุณ%e0%b9%81%e0%b8%a7%e0%b8%a5ตำรายาไทย ใช้ ผล รสเปรี้ยวอมหวานเย็น เป็นยาฝาดสมาน แก้เลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากมีวิตามินซีสูง แก้กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ แก้ธาตุพิการ แก้โรคขาดแคลเซียม เนื้อในผล แก้ธาตุพิการเพราะน้ำดีไม่ปกติ และกระเพาะอาหารพิการ แก้บิด ผล ใบ และเปลือกลำต้น แก้ร้อนใน ช่วยให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้หอบ บำรุงธาตุ และแก้บิด เปลือกลำต้น รสฝาดเย็นเปรี้ยว ช่วยสมานแผล มีกลิ่นหอม ฝาดสมานและเป็นยาเย็น ใช้ในโรคท้องเสีย และโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ แก้บิดปวดมวน ระงับอาเจียน ดับพิษกาฬ แก้ร้อนใน

แก้สะอึก ยางจากต้น มีลักษณะใส สีน้ำตาลปนแดง ไม่ละลายน้ำ แต่จะเกิดเป็นเมือก ใช้ติดของ และทำให้เยื่อเมือก อ่อนนุ่ม เปลือกต้นและแก่น เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใบ รสฝาดเปรี้ยว แก้ปวดท้อง น้ำคั้นจากใบหยอดแก้ปวดหู แก้หูอักเสบ ใบมีกลิ่นหอม รสเปรี้ยว และฝาดสมาน เป็นผักจิ้ม และแต่งกลิ่นอาหาร เมล็ด เผาไฟแช่น้ำดื่ม รสเย็น แก้ร้อนใน สุมแก้หอบ แก้สะอึก ราก รสฝาดเย็น แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ ขับปัสสาวะ สารสกัดเมล็ดด้วยแอลกอฮอล์ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ ลดการบีบตัวของลำไส้ หรือลดความดันโลหิตในสัตว์ทดลอง
ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ใช้ ใบ เคี้ยวกินแก้ท้องเสีย