รัก โลภ โกรธ หลง เหตุแห่งทุกข์ของมนุษย์ทั้งมวล อ.แดน

ความทุกข์ ของมนุษย์ทุกวันนี้ คือ รัก โลภ โกรธ หลง ต้นเหตุแห่งกิเลส คือ สี่ตัวนี้ ในทุกวันที่เราเกิดมา จะมีสี่ตัวนี้ เข้ามากระทบจิตของเรา ทำให้เราต้องคิดอยู่เสมอ ทั้งที่รู้ตัว และไม่รู้ตัว กิเลสดังกล่าว แม้ไม่เกิดจากเรา ก็อาจจะมาหาเราได้ผ่านทาง เพื่อนฝูง ญาติมิตร พี่น้อง พ่อแม่ คนรัก และ อื่นๆ และ ในโลกปัจจุบัน กิเลสได้ผ่านเข้ามาทาง เครือข่ายเฟ๊ซบุ๊ก จึงทำให้เราได้แลเห็นถึง กระแสบวก และ ลบ ในเครือข่าย ตราบใดที่เราอาศัยอยู่บนพื้นที่ที่มนุษย์เหยียบเข้าถึง เราหนีไม่พ้นแน่นอน เพียงแต่ว่า เราจะมีสติประคองตนเองอย่างไร ต่อวัน หรือ แม้แต่ต่อวินาที%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%87ทำไมเราจึงรัก ทำไมเราจึงโลภ ทำไมเราจึงโกรธ ทำไมเราจึงหลง สี่ตัวนี้เป็นกลไกในการทำให้เกิดการเวียนว่าย ตายเกิดของมนุษย์ หรือ เกิดกรรมต่อกัน คนที่แสวงหาความรักอยู่เสมอ อาจจะเป็นเพราะเขาขาดรัก และ ขาดคนที่เข้าใจเขา คนที่เหงาอยู่เสมอ มักจะแสวงหาความรักอยู่เสมอเช่นกัน ความรักที่แสวงหานั้น คือ อะไร ความรัก คือ อะไรในสายตาแต่ละคน ความรัก คือจุดยึดเหนี่ยวของแต่ละคน หากคนใดขาดรัก คนนั้นมีทุกข์ คำว่า รักที่ว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นรักฉันชู้สาว มันเป็นความรักอะไรก็ได้ แต่คนหลายคน ตบท้ายด้วยความรักชายหญิง และ เมื่อมีความรักดั่งกล่าวเกิดขึ้น ปัญหาก็จะเกิดขึ้นตามมาอีกมาก เหตุที่ว่า ความรักเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ เพราะทุกคนต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างใจ แต่หลายอย่างกลับไม่เป็น คู่รัก ของชายหญิง ก็คือ ที่มาก็การเวียนว่ายตายเกิด เมื่อมีรัก ก็เกิดความหลง

ที่หลีกเลี่ยงยาก ฉากต่อไป คือ ความหลง ก็จะมาพร้อมกับความโกรธและ เมื่อรัก หลง โกรธ มารวมกัน ก็จะเป็นทุกข์ซ้อนทุกข์ มีเพียงไม่กี่คู่ ที่ผ่านตรงนี้ไป และ ไม่มีเลย นอกนั้น หนีพ้นได้ยาก ต่อมาความโลภ ทำไมคนเราจึงโลภ โดยมากความโลภ นี้เกิดจากการอยากมีอยากเป็น อยากเด่น และ อยากดัง เมื่อความอยากมีมากอย่างต่อเนื่อง และ จนล้น ก็จะกลายเป็นโลภ เห็นผู้อื่นได้ดี ก็จะเอาด้วย อยากจะดีไปเสียยิ่งกว่า คนที่โลภไปอีกขั้นนึง ก็จะมีแต่ความต้องการ และ ต้องการมากขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างไร้ขอบเขต จนทำได้ทุกอย่างเพื่อแลกกับมัน ความโกรธ อันนี้เป็นสิ่งที่เป็นอาการที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดภาพบาดตา คำพูดบาดใจ หรือ เกิดจากการกระทำที่ไม่ถูกใจ กรณีความโกรธนี้ เกิดจากอะไรที่ไม่ถูกใจ และ ขัดกับตัวเรา ความโกรธโดยมากลิงก์มาจากความเอาแต่ใจในพื้นฐาน

หากเป็นคนมีพื้นฐานเดิมที่เอาแต่ใจตนเองมากๆ หรือ โดยตามใจแต่เด็ก อยากได้อะไรเป็นต้องได้ ความโกรธนี่จะเกิดขึ้นได้เสมอ บางคนโกรธเป็นเดือน โกรธเป็นปี ข้ามปี แค่คำว่า โกรธนี้ ทำให้เสียผู้เสียคนกันมามากแล้ว ความหลงอันนี้ เป็นอันที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น หลงผู้ชาย หลงผู้หญิง หลงกิ๊ก หลงการพนัน หลงละคร เพราะเห็นว่ามันดี หรือ หลงคำยอ เพราะคิดว่า ไพเราะ ฟังแล้วเห็นเป็นจริง อันความหลงนี่ ต้องบอกว่า ขึ้นอยู่กับจริตเดิม ท่านจะเห็นว่า ในสมัยโบราณ ทำไมมีการยกผู้หญิงให้เจ้าเมือง หรือ ใช้ผู้หญิงเป็นตัวล่อ ก็เพราะว่า เล่นเรื่องของความหลงในกาม ใครหลงสิ่งใด ให้ใช้สิ่งนั้นล่อ จะบังเกิด กระแสแห่งความหลงจนเห็นช้างตัวเท่าหมูก็เป็นได้ ขอจบเรื่องความรัก โลภ หลง โกรธ แต่เท่านี้ แต่เพียงเบื้องต้น
หากท่านใด มีทั้งหมด และ เยอะมาก ท่านจะระวังให้ดี เพราะว่า ปัญหาอีกมากจะตามมา หากท่านรู้แล้วว่า มีมาก ท่านคงต้องใช้ สติ ศีล สมาธิ และ ปัญญาในการแก้ไข เราเกิดเป็นมนุษย์ จึงอย่าปฏิเสธ ว่า เราเปอร์เฟค แต่ว่า เราสามารถฝึกได้กันทุกคน แต่ละคนที่เกิดมา มี สติ ศีล สมาธิ ปัญญา รัก โลภ โกรธ หลง ได้มา ไม่เท่ากัน เรียกว่า ทุนเดิม ในชาตินี้ ท่านจะทำทุนเดิมอย่างไร ให้พัฒนา หากไม่ใช่ด้วยการรักษาศีล และ ทำสมาธิ การอ่านอาจจะทำให้เกิดปัญญา แต่ก็ไม่เสมอไป อาจจะได้ความรู้แต่จะเกิดเป็นปัญญาหรือไม่ ต้องพิจารณา การตั้งสติ อยู่ในความไม่ประมาท เป็นสิ่งที่เราทุกคน อาจจะคิดว่าง่าย แต่ไม่ง่าย เพราะทุกเสี้ยววินาที มีกิเลส เกิดขึ้นได้ทุกทาง ในจิตของคนที่หลงไปด้วยกิเลส ตอนต้นเหมือนจะดี แต่พออยู่ไปอยู่มา ท่านจะเห็นบางอย่างเอง

อวิชชา หมายถึง ความไม่รู้, ความเขลาไม่รู้จริงในทุกสิ่งที่เกิดและดับแห่งทุกข์

อวิชชา หมายถึง ความไม่รู้, ความเขลาไม่รู้จริงในสิ่งต่างๆ ๔ ข้อต้น ท่านมุ่งถึงความไม่รู้ในอริยสัจ มี ๘ อย่าง คือเกิด-ทุข์

๑. ไม่รู้จักทุกข์ คือคนส่วนใหญ่เคยประสบกับทุกข์มาทั้งนั้น ทั้งทุกข์ทางกายที่เกิดกับปัจจัยภายนอก (หนาว, ร้อน, หิว, กระหาย..) หรือปัจจัยภายในที่เรียกว่าทุกข์ประจำสังขาร (ผมหงอก ฟันหัก หูพร่า ตามัว) และทุกข์ทางใจ (เสียของรัก จากของชอบ) แต่ไม่รู้จักทุกข์ตามความเป็นจริงว่าเป็นสิ่งทนได้ยาก

๒. ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งทุกข์ คือ ไม่รู้ถึงต้นสายปลายเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะส่วนใหญ่มัวแต่โทษว่า สิ่งอื่นหรือผู้อื่นสร้างทุกข์ให้กับตน โดยไม่ยอมเข้าใจว่า ที่เป็นทุกข์อยู่ทุกวันนี้เกิดจากตัณหาความทะยานอยากในใจของตน

๓. ไม่รู้จักความดับทุกข์ คือ เมื่อไม่รู้เหตุผลไม่ยอมรับว่าตัณหาในจิตใจของตนต่างหากเป็นตัวให้เกิดทุกข์จึงไม่รู้ว่า หากจะดับทุกข์ได้สนทต้องดับตัณหานั้นเสียก่อน ทุกข์ถึงจะดับ

๔. ไม่รู้จักทางถึงความดับทุกข์ คือ ไม่รู้ถึงวิธีการที่จะทำให้ทุกข์ดับไป เพราะไม่รู้ว่าอริยมรรค ๘ เป็นแนวทางที่ผู้ปฏิบัติตามสามารถดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง

๕. ไม่รู้จักอดีต คือ ไม่รู้ว่าผลชั่วที่ตนได้รับในปัจจุบันนี้ มีสาเหตุมาจากการทำความเลวไม่ดีมาก่อน อาจจะเป็นในอดีตชาติหรือในชาตินี้ คนพวกนี้มักจะมีความคิดว่า ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชาวได้ดีมีถมไป เมื่อกรรมตามสนองทันในปัจจุบันวันนี้ จึงไม่รู้จักสืบสาวหาเหตุการณ์ที่ตนทำผ่านๆ มา เรียกว่า ไม่รู้จักเหตุ

๖. ไม่รู้จักอนาคต คือ ไม่รู้ว่าความชั่วที่ตนทำในวันนี้ จะส่งผลให้ตนได้รับความทุกข์ยากลำบากในวันข้างหน้า คนพวกนี้ไม่เชื่อผลของกรรมว่ามีอยู่จริง จึงไม่สามารถคาดการณ์ถึงผลที่ตนจะต้องได้รับในอนาคตได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง เรียกว่า ไม่รู้จักผล

๗. ไม่รู้จักทั้งอดีตทั้งอนาคต คือ ไม่รู้ว่าผลชั่วที่ตนได้รับในปัจจุบันที่มีสาเหตุจากการทำชั่วแต่ครั้งอดีต แล้วยังตั้งหน้าตั้งตาทำความชั่วต่อไปไม่คิดกลับตัวกลับใจ เพราะถูกความไม่รู้ผิดบังปัญญาไว้ จึงทำให้ไม่เชื่อว่า กรรมและกฎแห่งกรรมมีจริง จึงต้องก้มหน้ารับผลกรรมชั่วต่อไปอย่างไม่รู้จบสิ้น เพราะไม่รู้จักเชื่อมโยงอดีตและผลในอนาคตให้สืบเนื่องถึงกันได้ เรียกว่า ไม่รู้จักทั้งเหตุทั้งผล

๘. ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท คือไม่รู้ตามความเป็นจริงว่าสภาวะธรรมต่างๆ เป็นเหตุเป็นผลของกันและกันเนื่องกันไปเหมือนกับลูกโซ่ที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นสายฉะนั้น เมื่อไม่รู้เช่นนี้จึงทำให้ต้องวนเวียนอยู่กับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย อย่างไม่รู้จบสิ้น